April 7, 2021
เติม s ได้อะไร

“การที่เราเติม s เข้าไปหลังคำจะทำให้เกิดอะไรได้มั่ง มารศรี” “ก็หลายอย่างนะ แต่ส่วนใหญ่จะทำให้คำนั้นกลายเป็นพหูพจน์ เช่น tree มีมากกว่าหนึ่งต้นก็กลายเป็น trees ดอกไม้ flower มากกว่าหนึ่งดอกก็กลายเป็น flowers” “แล้วถ้าดอกบัวล่ะ” “ถ้าจะให้มันเป็นพหูพจน์จะเติม s ตัวเดียวไม่ได้ แต่ต้องเป็น -es จาก lotus ก็เป็น lotuses” “ออกเสียงไงนะ หนึ่งดอกโลตั๊ท สองดอกโลตั้ทส์ ใช่รึเปล่า” “ไม่ใช่จ้ะ ถึงเธอจะเติม ส.เสือ ก็ไม่ได้ช่วยอะไรเพราะมีการันต์ ที่ถูกคือหนึ่งดอกเรียกว่าโล้ถึส มากกว่าหนึ่งดอกก็โล้ถึสสึส” “ตัว e ทำไมออกเสียงเป็นสระอึล่ะ” “เขาเรียกว่า schwa จ้ะ ไม่ได้เป็นสระจำเพาะเจาะจง แต่เป็นเสียงอ่อนแบบ เออะ อึ ซึ่งมักใช้กับเสียงสระในพยางค์ที่ไม่เน้น เช่นในคำว่า pencil ตัว i ไม่ได้ออกเสียงเป็นสระ อิ แต่เป็น schwa ดังนั้นไม่ออกเสียงว่า เพ็นซิล […]

August 19, 2020
เลิกเหล้า

คุณคมสันฯ เขียนอีเมลมาขอให้ผมลงที่เคยเขียน "เกี่ยวกับผลกระทบอันไม่ตั้งใจที่เกิดจากการห้ามจำหน่ายสุราในยุค 1920’s   เช่น เกิดอาชญากรรมมากขึ้น ฯลฯ อยากจะให้คุณบ๊อบนำมาลงในเว็บไซท์ของคุณบ๊อบอีกครั้ง" ด้วยความยินดีครับ คนอเมริกันเป็นชาติที่นิยมการดื่มไม่น้อย หลายคนดื่มไม่น้อยจนมีสำนวนว่า to drink like a fish = ดื่มเหมือนปลา = ดื่มจัด เพลงที่กล่าวขวัญถึงเหล้าเบียร์ก็มีมากมาย เช่น Red, Red Wine ของ Neil Diamond ซึ่ง UB40 เอามาทำใหม่จนโด่งดังกว่าฉบับดั้งเดิม Margaritaville ของ Jimmy Buffett และที่คนไทยรุ่นราวคราวผมรู้จักดีคือ Lightning Bar Blues ซึ่ง Brownsville Station มาทำให้คนไทยติดหูจนแปลงเนื้อเป็นเพลง “เมาจนหัวทิ่มบ่อ” สำนวนที่ผูกพันกับเหล้าก็มีเช่น to drown (one’s) sorrows in drink = การทำให้ความโศกเศร้าจมน้ำตายในเหล้า Frida […]

April 12, 2020
อยู่บ้านจนบ้า

เวลาคุณติดอยู่ในที่ใดที่หนึ่งนานๆ ไม่ได้ออกไปไหน นอกจากความรู้สึกว่าคุณกำลังทำหน้าที่เพื่อชาติแล้ว คุณรู้สึกยังไงมั่งครับ ภาษาอังกฤษมีอย่างน้อยสองสำนวนที่หมายถึงความรู้สึกนี้ สำนวนแรกคือ stir crazy Stir (สเตอร์) ในที่นี้เป็นสแลงครับ แปลว่า คุก เปรียบเทียบการถูกกักบริเวณ (ไม่ว่าจะโดยสมัครใจหรือไม่) เหมือนกับการติดคุก ส่วนความหมายของ crazy ผมคงไม่ต้องอธิบายมากเพราะมีตัวอย่างให้เห็นในรัฐบาลเยอะพออยู่แล้ว (สำหรับคุณผู้อ่านที่ชอบดูหนังนะครับ Stir Crazy ยังเป็นชื่อหนังตลกโกยเงินเมื่อ 40 ปีที่แล้ว นำแสดงโดยดาราคู่หูผู้ล่วงลับไปแล้ว คือ Richard Pryor กับ Gene Wilder) แน่นอนครับ คำว่า stir ยังมีความหมายอื่นๆ อีก ที่เห็นบ่อยสุดน่าจะเป็น คน (แบบเอาช้อนมาแกว่งรอบๆ ถ้วยด้านใน) เช่น James Bond likes his martini shaken, not stirred. = เจมส์ บอนด์ ชอบดื่มมาร์ตีนี่ที่เขย่า ไม่คน […]

September 27, 2019
God Save the Queen

 ในหนังเรื่อง Gandhi มีอยู่ฉากหนึ่งที่ผู้ชายชาวอินเดียหลายร้อยคนมาประชุมกันเพื่อฟังทนายหนุ่มปากกล้า โมฮันดัส คานธี อภิปรายประณามกฎหมายอังกฤษที่ไม่เป็นธรรมต่อชาวอินเดีย โดยในหอประชุมมีเจ้าหน้าที่อังกฤษเข้าไปสังเกตการณ์ด้วยหยิบมือหนึ่ง  การชำแหละกฎหมายฉบับนั้นโดยคานธีตีแผ่ความเหี้ยมของรัฐบาลอังกฤษต่อคนที่อยู่ภายใต้การปกครอง จนชาวอินเดียในหอประชุมพากันอารมณ์เดือดพล่านอยากจะลุกขึ้นไปต่อกรกับอังกฤษ เป็นตายร้ายดีก็ช่างมัน เริ่มจากไอ้พวกที่นั่งหน้าสลอนอยู่นี่เป็นไร   แต่คานธีพลิกเกม บอกว่าชื่นชมความหาญกล้าของพี่น้อง แต่ที่ต้องการคือความกล้าอีกแบบ การต่อสู้ไม่จำเป็นต้องไปเข่นฆ่าใคร และทำได้โดยไม่ใช้ความรุนแรง ข้าพเจ้ายอมตายเพื่ออุดมการณ์ที่เชื่อ แต่ไม่มีอุดมการณ์ใดจะทำให้ข้าพเจ้ายอมฆ่าคนอื่น   ชาวอินเดียเริ่มปรบมือกันทีละคนจนทั้งหอประชุมปรบมือกันดังสนั่น แล้วจู่ๆ ชาวอินเดียก็ลุกขึ้นยืนกันทีละคนจนทุกคนในนั้นยืนกันหมด ยกเว้นเจ้าหน้าที่อังกฤษ ซึ่งสีหน้างุนงงว่าไอ้พวกนี้จะมาไม้ไหนกัน      แต่แล้วความเครียดก็หายไปเมื่อคานธีเป็นต้นเสียงขึ้นเพลง God Save the King คอภาพยนตร์สมัยใหม่หลายคนไม่ทราบว่าตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ภาพยนตร์ งานมหรสพ หรืองานสาธารณะต่างๆ ในประเทศอังกฤษจะต้องปิดด้วยเพลง God Save the King ซึ่งเป็นเพลงชาติของอังกฤษและอาณานิคม และหลังจากพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ 2 ขึ้นครองราชย์เพลงเดียวกันนี้ก็ปรับเนื้อเล็กน้อยเป็น God Save the Queen เมื่อเวลาผ่านไป คนเริ่มลืมว่าในช่วงสงครามพระราชินีเคยขับรถพยาบาลช่วยเหลือคนที่ได้รับบาดเจ็บจากการทิ้งระเบิดโดยเยอรมัน ความกษัตริย์นิยมก็เริ่มจางหาย เวลาหนังใกล้จบ คนดู (โดยเฉพาะหนุ่มสาว) ก็เดินพาเหรดกันออกจากโรงก่อนที่เพลง God Save the Queen จะขึ้นบรรเลง ส่วนในอาณานิคมอังกฤษ เพลง God Save the […]

September 14, 2019
เหนื่อย

คุณคมสันฯ ถามมาว่า ติดตามคอลัมน์ “ฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน” แล้วก็ “พาสปอร์ตรอบโลก”  รวมถึงซื้อหนังสือฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน แทบทุกเล่ม (สมัยเรียนหนังสือนะครับ) วันนี้ มีคำถามอยากถามคุณบ๊อบว่า ความแตกต่างระหว่าง Exhaust กับ Fatigue ที่ดูเหมือนจะแปลว่า “เหนื่อยมาก ๆ” เหมือน ๆ กัน  ถ้าเราอยากพูดว่า "ฉันเหนื่อย" มีวิธีพูดง่ายๆ หลายแบบครับ แบบแรกคือ to be tired (ต้องมีกริยา to be นะครับ ถ้าคุณต้องการสื่อความหมายนี้จะพูดว่า I tired เฉยๆ ไม่ได้) เช่น Can we take a break, Mr. Wick? I'm tired. = เราพักกันสักหน่อยได้ไหมครับ คุณวิค ผมเหนื่อย หรือถ้าเหนื่อยมากจนแทบยืนไม่ไหว ก็อาจเติมคำว่า dead […]

September 7, 2019
เชียร์ไม่ใช่ cheer

มาตอบคำถามของคุณมนตรีต่อนะครับจากตอน "context คืออะไร" (2) คำถามที่สองเกิดติดใจช่วงที่ติดตาม World Cup และ Wimbledon นั่งคุยกับเพื่อนต่างชาติ เกิดสงสัยว่า คำว่า เชียร์ ภาษาไทยเราเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าอย่างไร เช่น  "คุณเชียร์ทีมใหน" ใช้ "Which team do you (cheer / support / go for)?" ใช้คำไหนเหมาะสมครับ  เพื่อนญี่ปุ่นเขาใช้คำว่า support แต่ผมว่า ใช้ go for เหมาะสมกว่า ช่วยตัดสินทีครับ  ความจริงคำว่าเชียร์ในภาษาไทยไม่ได้ตรงกับ cheer ในภาษาอังกฤษทีเดียวครับ ในภาษาอังกฤษ cheer หมายถึงการเปล่งเสียงให้กำลังใจ แต่ต้องใช้ประกอบกับคำอื่น โดยอาจเป็น cheer for (someone) หรือ cheer (someone) on เช่น We cheered for […]

September 1, 2019
context คืออะไร?

สวัสดีครับ พี่บ๊อบ ได้เห็นรูปคุณบ๊อบชัดๆ ครั้งนี้ก็ใน blog ที่ถ่ายคู่กับคุณเบิร์ต คุณฮาร์ทแล้วรู้สึกเวลาผ่านไปไวจัง รูปก่อนหน้านี้ที่เคยเห็นคือที่อยู่บนปกหนังสือเล่มแรกๆ สมัยผมอายุ 13 เป็นแฟนยุคแรกของคอลัมน์ครับ สมัยนั้นใช้นามปากกาว่า 'เด็กโง่' ตอนนี้ 31 แล้วครับ พอจบมหาวิทยาลัยก็ไม่ค่อยได้ติดตามอีกสักเท่าไหร่ เพราะมัวแต่ทำงานและต้องเดินทางออกต่างจังหวัดบ่อยๆ แต่ดีใจที่คุณบ๊อบยังเขียนคอลัมน์ให้เดลินิวส์อยู่ เพราะเมืองไทยยังต้องการคนที่รู้ภาษาอังกฤษจริงๆ อีกเยอะ โดยเฉพาะที่สามารถถ่ายทอดโดยเข้าใจบริบทของสังคมไทยและสังคมฝรั่ง คอลัมน์ของคุณไม่เพียงตอบปัญหา ให้ความรู้ และฝากข้อคิดให้สังคมไทย แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจให้คนไทยรุ่นใหม่ๆ หันมาสนใจภาษาอังกฤษมากขึ้นอีกด้วย (เหมือนผมสมัยก่อนที่คอยตัดคอลัมน์เก็บไว้เป็นประจำ)  (1) ผมได้ยินบ่อยๆ เวลาฝรั่งพูดอะไรที่เป็นการแสดงความคิดเห็นว่า "Let's keep that in context." อันนี้ผมเดาว่า ทำนองพูดให้เข้าประเด็นใช่หรือเปล่าครับ  (2) คำถามที่สองเกิดติดใจช่วงที่ติดตาม World Cup และ Wimbledon นั่งคุยกับเพื่อนต่างชาติ เกิดสงสัยว่า คำว่า เชียร์ ภาษาไทยเราเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าอย่างไร เช่น  "คุณเชียร์ทีมใหน" ใช้ "Which team do you (cheer […]

August 29, 2019
Prorogue = วายร้ายอาชีพ?

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีประเทศเล็ก ๆ ประเทศหนึ่งที่สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับตัวเองโดยแผ่ขยายอิทธิพลไปทั่วโลก กลายเป็นอาณาจักรมหาศาลกว้างใหญ่ถึงขนาดมีคำกล่าวว่า The sun never sets on the British Empire. = พระอาทิตย์ไม่มีวันตกดินที่อาณาจักรอังกฤษ แต่ทุกวันนี้ ประเทศอังกฤษกลายเป็นอีกประเทศหนึ่ง (ต่อจากสหรัฐอเมริกา) ที่คนภายนอกต้องเกาหัวแล้วถามตัวเองว่า WTF? = อะไรกันวะ (WTF เป็นตัวย่อจาก What the f***? ซึ่งเป็นคำหยาบ) การที่สหรัฐเลือกดอนัลด์ ทรัมป์เป็นประธานาธิบดี ทำให้โลกได้เห็นว่าอะไรเกิดขึ้นเมื่อมีคนจิตใจต่ำช้า ไร้เมตตา ไร้ความใคร่ครวญ ก้าวขึ้นสู่อำนาจ แต่ก็เอาเถอะครับ พอเข้าใจได้ว่าผลเลือกตั้งอาจเป็นเพราะระบบ electoral college เพราะคนเกลียด Hillary Clinton เพราะคนงานอเมริกันจำนวนมากถูกทำร้ายโดยโลกาภิวัตน์ ฯลฯ แต่ใครจะไปคิดว่าอังกฤษ (ซึ่งเกรียงไกรมานานกว่าสหรัฐเยอะ) จะพลอยบ้าไปกับเขาด้วย ใครจะไปคิดว่านายกรัฐมนตรีซึ่งจบจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยระดับท็อปๆ ของโลก จะกระดี๊กระด๊าขนาดนี้ที่จะถอนประเทศตัวเองออกจากสหภาพยุโรป (EU) ตาม “นโยบาย” ที่เรียกว่า Brexit (รวบรัดจาก […]

August 12, 2019
catch ที่ไม่ได้แปลว่า "จับ"

คุณเคยไหมครับ ได้รับข้อเสนอที่ดีอย่างไม่น่าเชื่อ "สวัสดีเพื่อนรัก ฉันเป็นลูกสาวของอดีตประธานาธิบดีประเทศหนึ่งในแอฟริกา คุณพ่อฉันเพิ่งถูกยึดอำนาจแต่หนีมาได้พร้อมกับเงินจำนวน 500 ล้านเหรียญสหรัฐแต่ไม่มีที่จะไว้ เราจึงอยากขอใช้บัญชีธนาคารของคุณเป็นที่ใส่เงินก้อนนี้เป็นการชั่วคราว และพร้อมที่จะจ่ายค่าเหนื่อยให้คุณ 10 เปอร์เซนต์ กรุณารีบตอบด้วยถ้าคุณสนใจ" ถ้าคุณเชื่อคนง่ายและไม่เคยได้รับจดหมายลักษณะนี้ (ซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษและหลัง ๆ นิยมส่งทางอีเมลแทนที่จะเป็นทางไปรษณีย์) ก็อาจตื่นเต้น "เฮ้ย 10 เปอร์เซนต์นี่ 50 ล้านเหรียญเชียวนะเว้ย" แต่ถ้าคุณเคยได้ยินภาษิตที่ว่า If something sounds too good to be true, it usually is. = ถ้าบางอย่างฟังดีเกินกว่าที่จะเป็นความจริง มันก็มักจะเป็นอย่างนั้นแหละ (คือไม่ใช่ความจริง) ก็อาจถามตัวเองว่า What's the catch? catch ในที่นี้ไม่ได้เป็นกริยาแปลว่า จับ (เช่นปลา) หรือ รับ (เช่นลูกบอล) นะครับ แต่เป็นนาม แปลว่า เงื่อนไขที่พลิกสถานการณ์ เช่นข้อยกเว้น ถ้าคุณตอบจดหมายไป […]

January 4, 2014
สำนวนว่าด้วยเศรษฐกิจตกต่ำ

วิดีโอ WordSquare ตอนล่าสุดที่ผมนำมาตัดต่อใหม่

June 5, 2012
Be the change

เวลาผมเจอเพื่อนๆ เรามักจะโอดครวญกันเรื่องคุณภาพของนักการเมืองไทย หันไปไหนก็มองไม่เห็นพระเอกที่จะขี่ม้าขาวมาช่วยกู้บ้านเมือง ก็เลยนึกถึง campaign slogan (แคมเพ้น สโล่กั่น) = คำขวัญหาเสียงของ Barack Obama (บาร้าค โอบ๊าหม่า) เมื่อ 4 ปีที่แล้วที่ยืมมาจากมหาตมะ คานธี ว่า Be the change you wish to see in the world. = จงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่คุณต้องการจะเห็นในโลก เรามองรอบตัวก็เห็นปัญหามากมาย แล้วเราก็หวังว่าจะมี "คนดี" มาแก้ไขปัญหาเหล่านั้น โดยลืมว่าในโลกแห่งความเป็นจริงคนดีอาจจะขาดคุณสมบัติอย่างอื่นที่ผู้นำพึงมี เช่นความฉลาด ความขยัน ความอึด และที่สำคัญคือความสามารถในการบันดาลใจคนทั้งชาติให้คล้อยตาม เราแต่ละคนอาจขาดคุณสมบัติเหล่านั้น แต่ถ้าเราช่วยกันคนละไม้คนละมือ แก้ไขปัญหาทีละจุดสองจุด ทำตัวเองให้เป็น part of the solution = ส่วนหนึ่งของคำตอบ ไม่ใช่ part of the problem […]

March 5, 2012
Benedict Anderson: Outsider view of Thai politics

Below is a cached version of Prof. Ben Anderson's remarks which for some reason had disappeared from Prachatai.com. Apologies to Prof. Anderson and Prachatai.com for replicating the piece without authorization, but there is much food for thought here that should not simply disappear from cyberspace. Benedict Anderson: Outsider view of Thai politics Fri, 05/08/2011 - […]

1 2 3 12
boonhod@hotmail.com
Copyright (C) 2019 by Jakkrit Srivali. All rights reserved. สงวนลิขสิทธิ์ โดย จักรกฤษณ์ ศรีวลี
>
linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram