Greenwashing

27 กุมภาพันธ์ 2550

คุณศุภณัฐฯ เขียนจดหมายมาถามว่า “ผม...ฟัง BBC ไม่ค่อยทัน แต่พบคำ/ประโยคดังนี้ ...and make it cross effective (ไม่ใช่ cost benefit)

“และคำว่า whitewashing, green washing คำว่า whitewashing ผมพอทราบ แต่ green washing?

“และ We need to have very broad day. (ทั้งหมดเป็นการคุยเรื่อง global warming)”

ข้อแรกผมเข้าใจว่าคุณคงได้ยินคำว่า cost effective นะครับ ซึ่งแปลว่า คุ้มทุน ถ้าจะเป็น cross effective ที่คุณว่า ถ้าไม่มีบริบทที่จำเพาะเจาะจงจริงๆ ผมว่ามันฟังชอบกลกระไรอยู่ คิดว่าน่าจะเป็น cost effective มากกว่าครับ

ส่วน green washing เป็นคำที่ไม่ใช้ทั่วไปนะครับ เป็นการเล่นคำโดยเอามาจาก whitewashing แทนที่จะเป็นสีขาวก็แปลงเป็นเขียวให้เข้าเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ความหมายก็ยังเป็นแนวเดิมอยู่ คือ การทำให้พฤติกรรมที่ก่อความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมกลายเป็นที่ยอมรับได้

(update: โดยที่ประชาชนทั่วไปให้ความสำคัญกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่บริษัทหลายรายยังต้องการทำกำไรโดยไม่เปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ greenwashing จึงกลายเป็นวิธีง่ายๆ ที่จะหลอก/เอาใจผู้บริโภคให้ตายใจโดยบริษัทไม่ต้องลงทุนในเทคโนโลยีที่รักษาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง)

ตัวอย่างของการ “ฟอกเขียว” แบบนี้ก็มีเช่นแนวความคิด emissions trading = การซื้อขายเครดิตการปล่อยมลพิษ ซึ่งหมายความว่าบริษัทต่างๆ จะมีสิทธิก่อมลพิษจากอุตสาหกรรมได้ x ลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยรวมกันไม่เกิน y ลูกบาศก์เมตร บริษัทไหนไม่ใช้สิทธิก่อมลพิษก็สามารถขาย credits ในการก่อมลพิษให้กับบริษัทอื่นที่มีความจำเป็น

ส่วนประโยคสุดท้ายของคุณ ผมไม่ทราบเหมือนกันครับว่า broad day คืออะไร ยังไงช่วยไปลองฟังอีกทีแล้วถามมาใหม่นะครับ

สมัครเป็นสมาชิก ดาวน์โหลดฟรีอีบุ๊ค "ฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน เล่ม 1"

* indicates required
boonhod@hotmail.com
Copyright (C) 2019 by Jakkrit Srivali. All rights reserved. สงวนลิขสิทธิ์ โดย จักรกฤษณ์ ศรีวลี
>
linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram