ไต้ฝุ่น

12 ธันวาคม 2549

ผมไปฟิลิปปินส์มาเมื่อไม่กี่วันก่อน แต่ก็อยู่ไม่ถึง 24 ชั่วโมงเพราะเจ้าภาพยกเลิกการประชุมด้วยเหตุว่ากำลังจะมีไต้ฝุ่นเข้า (ผมขอไม่ใช้ว่า “ประเทศฟิลิปปินส์” หรือ “พายุไต้ฝุ่น” นะครับ เพราะผมมองว่าเป็นการใช้คำฟุ่มเฟือย เปลืองพื้นที่กระดาษ เสียเวลาผู้อ่าน)

ความจริง typhoon (ไทฟู่น) กับ hurricane (เฮ้อหริเข่น) เป็นพายุระดับเดียวกัน คือมีความแรงต่อเนื่องของลมอย่างน้อย 118 กม.ต่อชั่วโมง แต่เรียกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าเกิดขึ้นในภาคพื้นไหน

typhoon เป็นคำที่ใช้เรียกพายุที่เกิดขึ้นในภาคพื้นแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ แต่ถ้าเกิดขึ้นในภาคพื้นแปซิฟิกส่วนอื่นหรือในมหาสมุทรแอตแลนติกก็เรียกว่า hurricane ครับ

ถ้าพายุข้าม International Date Line จากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่งก็เปลี่ยนคำเรียกตามนั้น เช่นถ้าข้ามจากตะวันออกไปตะวันตก จากที่เดิมเรียกว่า hurricane ก็กลายเป็น typhoon และบางทีก็เปลี่ยนชื่อด้วย

ถ้าความแรงของลมขึ้นไปถึง 240 กม.ต่อชั่วโมง ก็จะเรียกว่า super typhoon (ที่แรงกว่า 305 กม.ต่อชั่วโมงก็ยังเคยมี)

ถ้า เรียกโดยทั่วไปไม่จำเพาะเจาะจงพื้นที่ก็เรียกรวมๆ ว่า tropical cyclone (ทรอพิคัล ไซ้โขล่น) = ไซโคลนเขตร้อน ครับ

นอกจากนั้น tropical cyclone ยังเป็นคำที่ใช้เรียกพายุระดับเดียวกันที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย

อ่อนกว่านั้นก็มี tropical storm = พายุเขตร้อน ซึ่งแรงกว่า tropical depression = ดีเพร็ชชั่นเขตร้อน แต่ก็สร้างความเสียหายได้เหมือนกันถ้าเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น

สมัครเป็นสมาชิก ดาวน์โหลดฟรีอีบุ๊ค "ฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน เล่ม 1"

* indicates required
boonhod@hotmail.com
Copyright (C) 2019 by Jakkrit Srivali. All rights reserved. สงวนลิขสิทธิ์ โดย จักรกฤษณ์ ศรีวลี
>
linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram