เผชิญหน้า

15 มีนาคม 2550

“ตายจริง มารศรี ปะทะกันแล้ว”

“ไหน ใครปะทะใคร”

“นี่ไง พาดหัวข่าวในเว็บ Muslim protesters clash with Buddhists แปลว่า ผู้ประท้วงชาวมุสลิมปะทะกับชาวพุทธ ใช่ไหม”

“จริงเหรอ ไหนขออ่านเนื้อข่าวหน่อยซิ... เอ แต่นี่ฉันว่ามันไม่ใช่ปะทะกันนะ ฟังเป็นการเผชิญหน้ากันมากกว่า ฉันบอกเธอแล้วไงว่าอย่าเรียนภาษาอังกฤษจากหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษของไทย การใช้ภาษาสมัยนี้หละหลวมกว่าสมัยก่อนมาก”

“อ้าว ตกลงว่าฉันแปลผิดหรือว่าเขาใช้คำผิด”

“เธอแปลถูกแล้วหละ clash แปลว่า ปะทะ เช่น Protesters clashed with police. = ผู้ประท้วงปะทะกับตำรวจ เขาใช้คำผิดเอง ความจริงเขาควรใช้คำอย่าง confront ซึ่งแปลว่า เผชิญหน้า หรือไม่ก็ stand-off ซึ่งหมายถึงสถานการณ์เผชิญหน้ากันโดยไม่มีฝ่ายไหนอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบกว่ากัน”

“แล้ว confront กับ stand-off นี่วิธีใช้เหมือนกันหรือเปล่า”

“อ้อ ลืมบอกไปว่า confront เป็นกริยา ถ้าเป็นนามก็ต้อง confrontation ส่วน stand-off ส่วนใหญ่ใช้โดยมียัติภังค์เชื่อมเป็นนาม เช่น They were in a three-hour stand-off. = พวกเขาเผชิญหน้ากันโดยไม่มีใครได้เปรียบเป็นเวลาสามชั่วโมง แต่ไม่จำเป็นต้องเห็นหน้ากันก็เรียกว่า stand-off ได้นะ เช่นผู้ร้ายจับตัวประกันแล้วตำรวจล้อมตึกไว้ ต่างฝ่ายต่างไม่สามารถทำอะไรอีกฝ่ายได้ ถ้ามีหลายฝ่ายซึ่งเป็นปรปักษ์กัน แต่ได้แค่ตรึงกันไว้ ต่างคนต่างชี้ปืนใส่กัน แต่ไม่มีใครทำอะไรใครได้ อย่างนี้เรียกว่าเป็น Mexican stand-off”

สมัครเป็นสมาชิก ดาวน์โหลดฟรีอีบุ๊ค "ฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน เล่ม 1"

* indicates required
boonhod@hotmail.com
Copyright (C) 2019 by Jakkrit Srivali. All rights reserved. สงวนลิขสิทธิ์ โดย จักรกฤษณ์ ศรีวลี
>
linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram